สภาพทั่วไป


องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอด่านขุนทด เป็นระยะทาง 36 กม. การเดินทางออกจากที่ว่าการอำเภอไปตามถนนสายด่านขุนทด – สีคิ้ว ถึงสามแยกกุดม่วงเลี้ยวขวาไปตามถนนสายด่านขุนทด – ชัยบาดาล ถึงสี่แยกกลางตลาดห้วยบงเลี้ยวขวาไปตามถนนสายบ้านห้วยบง-ซับยาง อีกประมาณ 0.25 กิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

- ทิศเหนือ จด กิ่งอำเภอเทพารักษ์
- ทิศใต้ จด อำเภอสีคิ้ว ( ตำบลวังโรงใหญ่ ตำบลดอนเมือง )
- ทิศตะวันตก จด กิ่งอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
- ทิศตะวันออก จด ตำบลหินดาด

 

1.2 เนื้อที่
ตำบลห้วยบง มีพื้นที่ประมาณ 200.97 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 125,605 ไร่ แบ่งการใช้ประโยชน์ออกเป็น ดังนี้

- พื้นที่ชุมชนและที่อยู่อาศัย ประมาณ21,534 ไร่ ร้อยละ 17.14
- พื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ 86,047 ไร่ ร้อยละ 68.51
- พื้นที่สาธารณประโยชน์ ประมาณ 3,712 ไร่ ร้อยละ 2.96
- พื้นที่ป่าสงวน ประมาณ 14,312 ไร่ ร้อยละ11.39

 
1.3 ภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง (ที่ดอน) แหล่งน้ำสายหลักของตำบล คือ ห้วยโปร่ง ห้วยจระเข้น้อย ห้วยปราสาทใหญ่ ซึ่งลำห้วยเหล่านี้ได้แตกสาขากระจายอยู่ทั่วเขตของตำบล

1.4 เขตการปกครอง
แบ่งเขตการปกครองทั้งหมดออกเป็น 25 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1  บ้านห้วยบง มี 160 ครัวเรือน
หมู่ที่ 2 บ้านหนองกราดน้อย มี 191 ครัวเรือน
หมู่ที่ 3 บ้านป่ารังงาม มี 109 ครัวเรือน
หมู่ที่ 4 บ้านศิลาร่วม มี 107 ครัวเรือน
หมู่ที่ 5 บ้านน้อยพัฒนา มี 85 ครัวเรือน
หมู่ที่ 6 บ้านซับพลู มี 155 ครัวเรือน
หมู่ที่ 7 บ้านซับยาง มี 98 ครัวเรือน
หมู่ที่ 8 บ้านหนองใหญ่ มี 153 ครัวเรือน
หมู่ที่ 9 บ้านหินเพิง มี 63 ครัวเรือน
หมู่ที่ 10 บ้านภูผาทอง มี 66 ครัวเรือน
หมู่ที่ 11 บ้านวังผาแดง มี 89 ครัวเรือน
หมู่ที่ 12 บ้านเสาร์ห้า มี 51 ครัวเรือน
หมู่ที่ 13 บ้านไทยสงบ มี 73 ครัวเรือน
หมู่ที่ 14 บ้านซับพลูน้อย มี 78 ครัวเรือน
หมู่ที่ 15 บ้านทรัพย์สมบูรณ์ มี 104 ครัวเรือน
หมู่ที่ 16 บ้านซับไทร มี 78 ครัวเรือน
หมู่ที่ 17 บ้านถ้ำเต่า มี 68 ครัวเรือน
หมู่ที่ 18 บ้านวังไทรงาม มี 61 ครัวเรือน
หมู่ที่ 19 บ้านโนนสะอาด มี 56 ครัวเรือน
หมู่ที่ 20 บ้านโปร่งใหญ่ มี 97 ครัวเรือน
หมู่ที่ 21 บ้านซับน้ำเย็น มี 38 ครัวเรือน
หมู่ที่ 22 บ้านมอสุวรรณ มี 63 ครัวเรือน
หมู่ที่ 23 บ้านซับสนุ่น มี 76 ครัวเรือน
หมู่ที่ 24 บ้านห้วยโปร่ง มี 50 ครัวเรือน
หมู่ที่ 25 บ้านซับเจริญ มี 49 ครัวเรือน

 

1.5 ประชากร
มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,218 ครัวเรือน โดยมีประชากรทั้งสิ้น 9,735 คน แยกเป็นชาย 5,050 คน หญิง 4,685 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 49 คน / ตารางกิโลเมตร

2. สภาพเศรษฐกิจ


2.1 อาชีพ

  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ไร่พริกและรับจ้างทั่วไป นอกจากนี้บางส่วนประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น จักสานหญ้าคาเพื่อทำหลังคาเรือน

2.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- ธนาคาร - แห่ง
- โรงแรม - แห่ง
- ปั้มน้ำมันและก๊าซ  8 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง
- โรงสี 5 แห่ง
- ร้านค้าในหมู่บ้าน 121 แห่ง

3. สภาพสังคม


3.1 การศึกษา

1. โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านหนองกราดน้อย
- โรงเรียนบ้านป่ารังงาม
- โรงเรียนบ้านน้อยพัฒนา
- โรงเรียนบ้านซับยาง
- โรงเรียนบ้านหินเพิง

2. โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่
-โรงเรียนบ้านห้วยบง
-โรงเรียนบ้านศิลาร่วมสามัคคี
- โรงเรียนบ้านซับพลู
-โรงเรียนบ้านหนองใหญ่

3.โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง

4. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำบ้าน 1 แห่ง

 

3.2 สถาบันและองค์การศาสนา
- วัด / สำนักสงฆ์ 17 แห่ง
- โบสถ์ 2 แห่ง

 

3.3 การสาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน 3 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน 3 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 3 แห่ง
- อัตราการมี และใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 90.03

 

3.4 ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ 1 แห่ง
- ป้อมตำรวจ 2 แห่ง

 

4. การบริการพื้นฐาน

 

4.1 การคมนาคม
- ทางหลวงแผ่นดิน 1 สาย
- ถนนลาดยางเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน 3 สาย
- การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังเป็นทางลูกรัง ซึ่งบางหมู่บ้านเส้นทางชำรุดในฤดูฝน
- ตำบลห้วยบงมีเส้นทางที่สามารถติดต่อกับเขตพื้นที่อื่นได้อย่างสะดวกโดยใช้ทางหลวงแผ่นดิน เช่น กิ่งลำสนธิ อำเภอปากช่อง และยังมีถนน ร.พ.ช. เชื่อมต่อกับอำเภอสีคิ้ว

 

4.2 การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเอกชน 1 แห่ง
- สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ - แห่ง

 

4.3 การไฟฟ้า
ยังมีบางครัวเรือนที่ไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง คิดเป็น 9.15 เปอร์เซ็นต์ หรือ 210 ครัวเรือน

 

4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
 - ลำน้ำ ลำห้วย 3 สาย
 - บึง หนอง 9 แห่ง

 

4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย อ่างเก็บน้ำ สระน้ำ 44 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 12 แห่ง
- บ่อโยก บ่อบาดาล ประปาหมู่บ้าน 35 แห่ง



5. ข้อมูลอื่น ๆ


5.1 ทรัพยากรธรรมชาติ

- สภาพดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย บางแห่งเป็นพื้นที่ภูเขาจะเป็นดินลูกรัง
- มีลุ่มน้ำธรรมชาติ 3 สาย


5.2 มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน 8 รุ่น
- ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น
- กลุ่มแม่บ้าน 18 กลุ่ม
- อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน 7 กลุ่ม
- อาสาสมัคร ป.ป.ส. 25 หมู่บ้าน
- ผู้ประสานพลังแผ่นดินต้านภัยยาเสพติด 25 หมู่บ้าน
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 1 รุ่น



ศักยภาพในตำบล
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
 

1.จำนวนบุคลากร จำนวน 24 คน ซึ่งแบ่งออกตามสายงานดังนี้
ตำแหน่งในส่วนสำนักปลัด ทั้งหมด 15 คน
ตำแหน่งในส่วนการคลัง ทั้งหมด 6 คน
ตำแหน่งในส่วนโยธา ทั้งหมด 3 คน
หัวหน้าสำนักปลัด ได้แก่ นายโยธิน พฤกษพิทักษ์
หัวหน้าส่วนการคลัง ได้แก่ นายโยธิน พฤกษพิทักษ์ รักษาราชการแทนหัวหน้าส่วน
หัวหน้าส่วนโยธา ได้แก่ นายพิทักษ์พงษ์ พงษ์ศิริ


2. ระดับการศึกษา
ประถมการศึกษา 2 คน
มัธยมศึกษา / อาชีวศึกษา 17 คน
ปริญญาตรี 5 คน
สูงกว่าปริญญาตรี - คน


3. รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ประจำปีงบประมาณ 2548   เป็นเงิน 6,561,908.00 บาท
รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเก็บเอง เป็นเงิน 528,101.65 บาท
รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ เก็บให้ เป็นเงิน 6,033,806.35 บาท
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เป็นเงิน 2,709,081.00 บาท

ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
ตำบลห้วยบงมีศักยภาพที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาหลายด้าน คือ

1. การคมนาค ม อยู่ติดกับถนนสายด่านขุนทด-ชัยบาดาล ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านในการเดินทาง ไปสู่ภาคกลาง ภาคเหนือ หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ และการคมนาคมภายในตำบลนั้นจะมีถนนลาดยาง(รพช.) สายหลักอยู่ 2 สาย และถนนลูกรังเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน สามรถเดินทางได้โดยสะดวก


2. ผลผลิต ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งเอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมการเกษตร เช่น
- พริกปลูกมากในหมู่ที่ 1 - 11 , 13 - 22
- ข้าวปลูกมากในหมู่ที่ 1 - 10 , 14 - 18 , 20 - 22
- มันสำปะหลังปลูกมากในหมู่ที่ 1 - 6, 7, 12, 14, 22, 23, 24
- ข้าวโพดปลูกมากในหมู่ที่ 1 - 2 , 4 - 14 , 16 - 22
- อ้อยปลูกมากในหมู่ที่ 1 - 8 , 11 - 12 , 14 - 17 , 19 - 22


3. อุตสาหกรรม
- ประชากรในหมู่ที่ 2 บ้านหนองกราดน้อย ได้ประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือนเสริมสร้างรายได้ด้วยการจักสานหญ้าคาเพื่อทำหลังคา
- ประชากรในหมู่ที่ 9 บ้านหินเพิง ได้ประกอบอุตสาหกรรมในครัววเรือนด้วยการเย็บเศษผ้าเพื่อส่งขายแก่พ่อค้าคนกลาง

วิสัยทัศน์
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบงเป็นเมืองน่าอยู่ แหล่งพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง เกษตรกรดี ด้วยการบริหารจัดการที่ดีและมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยชุมชนที่มีความเข้มแข็ง คนมีการศึกษาและมีวินัย ทุกดวงใจใฝ่คุณธรรม ก้าวนำด้านเศรษฐกิจทุกชีวิตอยู่ดีกินดี”

นโยบายนายก อบต.

เรียน ท่านประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง ท่านสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง ผู้ทรงเกียรติ ตามที่ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2548 และการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง ซึ่งดำเนินการจัดการบริหารการเลือกตั้งก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยด้วยดี ได้สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบงชุดใหม่ จำนวน 50 ท่าน นั้น


นโยบายดังกล่าว ได้ยึดมั่นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ตลอดจนพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และขอเรียนท่านประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ท่านสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ทรงเกียรติ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ ด้านนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง ที่จะมุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ของท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในท้องถิ่นในภาพรวม


ในสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนส่วนหนึ่งจะได้รับการดูแลจากองค์กรการเมืองใหญ่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น รัฐบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรม กอง ต่าง ๆ แต่ด้วยเหตุที่สภาพพื้นที่ในตำบลห้วยบงมีพื้นที่ขนาดใหญ่ จึงต้องร่วมกันในการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

เพื่อให้การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง บรรลุถึงพันธกิจ จึงขอกำหนดนโยบายในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง ไว้ 8 ด้าน ดังนี้

1. ด้านการศึกษา จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความรู้สู่ความเป็นเลิศควบคู่กับคุณธรรม จัดให้มีห้องสมุดประจำตำบล โรงเรียนในฝันขององค์การบริหารส่วนตำบล และศูนย์นักปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อความรู้ ความเข้าใจในขบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุก ๆ ด้านตั้งแต่นักเรียนจนถึงประชาชน

2. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ในการทรัพยากรที่มีอยู่ จัดหาภาชนะเก็บน้ำฝนให้เพียงพอ สร้างป่าชุมชนให้เกิดป่าถาวรดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษให้หมดไป

3. ด้านสังคม จัดการเรียนรู้ขบวนการประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ จัดระเบียบชุมชนในสังคมให้ความรู้ความเข้าใจสิทธิของความเป็นมนุษย์ จัดให้มีขบวนการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย สังคมสงเคราะห์ และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

4. ด้านบริการโครงสร้างพื้นฐาน ก่อสร้างถนนที่สะดวกปลอดภัย เชื่อมโยงระหว่างตำบล จัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ และจัดสถานบริการเพื่อนันทนาการและที่พักผ่อนออกกำลังกาย

5. ด้านคุณภาพชีวิต เน้นสร้างให้สมบูรณ์ทั้ง 3 ด้าน
ด้านที่ 1 การติดอาวุธทางปัญญา
ด้านที่ 2 การสร้างจิตใจให้อบอุ่นเข้มแข็ง
ด้านที่ 3 การเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงห่างไกลยาเสพติด และโรคภัยไข้เจ็บ

6. ด้านเศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้ของตำบล สู่หมู่บ้าน สู่ครัวเรือนที่เข้มแข็ง ส่งเสริมการใช้วัสดุและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น พัฒนาให้เกิดรายได้ โดยใช้ภูมิปัญญาของปราชญ์ ท้องถิ่นที่สะสมไว้นำมาพัฒนาประยุกต์ให้เกิดเป็นรายได้ สร้างผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลไปสู่ความเป็นเลิศอย่างครบวงจร เป็นสินค้าออกเพื่อสร้างรายได้สู่ตำบล

7. ด้านนโยบายศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ถือว่าเป็นมรดกอันล้ำค่า ของมนุษย์ชาติ จึงต้องร่วมสืบสานและรักษาไว้อย่างมั่นคง

8. ด้านนโยบายด้านกีฬา ส่งเสริมสนับสนุน การจัดกิจกรรม การแข่งขันกีฬาเพื่อพัฒนาสุขภาพ และพัฒนาการกีฬาไปสู่ความเป็นเลิศระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับชาติ

อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าว จะสำเร็จผลได้ดี ก็ด้วยความเข้าใจและความร่วมมือ ร่วมใจของประชาชน ชาวตำบลห้วยบง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง ทุกท่าน กระผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความร่วมมือ และได้รับการสนับสนุนจากท่านสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบงทุกท่าน ที่จะนำพาพี่น้องประชาชนชาวตำบลห้วยบง มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ ที่ดีในอนาคตอันใกล้นี้

แผนปฏิบัติการประจำปี 2549
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

ยุทธศาสตร์ การพัฒนาด้านการเมืองและการบริหาร

วัตถุประสงค์

 1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในรูปประชาคม
 2. เพื่อส่งสนับสนุนด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการของ อบต. และการบริหาร การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
 3. เพื่อพัฒนาบุคลากรทั้งพนักงานส่วนตำบล สมาชิกสภา อบต. ให้มีความรู้มีคุณธรรม และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน
 4. เพื่อเพื่อพัฒนารายได้ โดยการปรับปรุงแหล่งรายได้ วิธีการหารายได้ รวมทั้งระบบ การจัดเก็บภาษี
 5. เพื่อพัฒนาการจัดหาและปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงานให้เพียงพอ มีประสิทธิภาพ
 6. เพื่อการให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง

แนวทางการพัฒนา
 1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในรูปประชาคมตำบล
 2. การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับกิจการของ อบต. และการบริหารการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
 3. การพัฒนาบุคลากร ทั้งพนักงานส่วนตำบล สมาชิกสภา อบต. ให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน
 4. การพัฒนารายได้โดยการปรับปรุงแหล่งรายได้ วิธีการหารายได้ รวมทั้งระบบการจัดเก็บภาษี การทำกิจการพาณิชย์ของ
 5. การจัดหาและปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงานให้เพียงพอ มีประสิทธิภาพ
 6. การให้บริการแก่ประชาชน โดยจัดการบริการทั้งในและนอกสำนักงาน รวมทั้ง อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่องานต่างๆรวมทั้งการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารต่างๆให้ประชาชนทราบ